วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงธนบุรี

ช่วงธนบุรีและรัตนโกสินทร์
(ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475)


ช่วงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (ช่วงก่อนเปลี่ยนการปกครองปี พ.ศ. 2475)


ประวัติศาสตร์การเมืองช่วงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ (จนถึง พ.ศ. 2475) จะนับรวมกันเพราะสมัยธนบุรีมีพระมหากษัตริย์เพียงพระองเดียวคือ พระเจ้าตากสินมหาราช


พระเจ้าตากสินมหาราช (ครองราชย์ระหว่าง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 - 6 เมษายน พ.ศ. 2325)


ก่อนกรุงศรีอยุทธยาจะแตกในปี พ.ศ. 2310 นั้นพม่าได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2308 พระยาตากซึ่งเป็นเจ้าเมืองตากอยู่ถูกเรียกเข้ามาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2310 พระยากตากได้นำทหารราว 1,000 คน ต่พม่าหนีออกจากกรุงศรีอยุธยาไปรวบรวมผู้คนไว้สู้พม่าที่เมืองจันทบูรณ์ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาก็ถูกพม่าตีแตกเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมผู้คนอยู่จนถึงเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกันนั้นก็ยกทัพกลับมาตีทัพพม่าที่ตั้งมั่นอยู่ที่ค่ายโพธิสามต้น อยุธยา และตีค่ายพม่าแตกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 พม่าถูกฆ่าตายเป็นอันมากที่รอดตายก็แตกพ่ายหนีกลับพม่าไป พระยาตากจึงได้กลายเป็นผู้นำคนสำตัญของประเทศในขณะนั้น เพราะพระเจ้าเอกทัศน์สิ้นพระชนม์แล้ว ส่วนพระเจ้าอุทุมพร อนุชาก็ถูพม่าจับตัวไป


เมื่อเอาชนะพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้นแล้ว ก็ได้เลือกกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงใหม่แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2311 - 2313 นั้น เพระเจ้าตากก็ต้องใช้เวลาปราบชุมนุมคนไทยอีก 4 กลุ่ม ซึ่งซ่องสุมผู้คนตั้งตัวเป็นใหญ่ในแผ่นดินคือ ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมพระปลัดเมืองนครศรีธรรมราช โดยปราบชุมนุมเจ้าพระฝางเป็นชุมนุมสุดท้ายในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้าตากเป็นคนดีมีฝีมือของกรุงศรีอยุธยาคนหนึ่ง สมดังคำพังเพยที่ว่า “กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี” สู้กับพม่าแล้วก็ต้องมาสู้กับคนไทยเอง (คือผู้ตั้งตัวเป็นใหญ่อีก 4 ชุมนุมปต้องบูรณะบ้านเมืองที่เสียหาย ราษฎรยากจนโจรผู้ร้ายชุกชุมและยังต้องคอยสู้รบกับพม่าที่ยกทัพมาตีเมืองไทยอีกหลายครั้ง นอกจากเป็นฝ่ายรับในการรบแล้ว พระเจ้าตากยังส่งทัพไปรบยังที่อื่นๆ อีกเพื่ผลประโยชน์ของไทยเป็นการยกทัพไปรบที่เชียงใหม่ (พ.ศ. 2317 และ 2319) ที่จัมปาศักดิ์ (พ.ศ. 2321) และที่เขมร (พ.ศง 2312 และ 2323)


ในปี พ.ศ. 2325 ไทยยกทัพไปรบที่เขมร แม่ทัพคือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ขณะที่ทัพสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกรบอยู่ที่เขมรนั้น ทางกรุงธนบุรีเกิดการจลาจล ขุนนางชื่อพระยาสรรค์ได้ก่อกบฎจับพระเจ้าตากไว้แล้วให้ทรงผนวชเสีย เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกรู้เรื่องการจลาจลก็ยกทัพกลับ ตามพลักฐานทางประวัติศาสตร์นั้น ตอนปลายรัชกาลของพระเจ้าตากสินพระองค์สติฟั่นเฟือนและลงพระอาญาแก่คนจำนวนมาก รวมทั้งพระภิกษุสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่โดยไม่ชอบด้วยเหตุผล ขุนนางทั้งหลายจึงอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองแผ่านดินและในการครั้งนี้ได้สำเร็จโทษพระเจ้าตากสินด้วย (พระชนม์ได้ 48 พรรษา) นอกจากพระเจ้าตากแลัวก็มีเชื้อพระวงศ์ที่ถูกสำเร็จโทษด้วยคือ โอรสพระเจ้าตาก คือ กรมขุนอินทรพิทักษ์ (เจ้าฟ้าจุ้ย) ขณะถูกประหารพระชันษา 21 พรรษ และพระเจ้าหลานเธอกรมขุนรามภูเบศร์ นอกจากนั้นก็มีขุนนางอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สงค์จพรับราชการเป็น “ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย” ถูกประหารชีวิตอีกจำนวนหจึ่งรวมทั้งพระยาพิชัยที่รู้จักกันในนามพระยาพิชัยดาบหัก


รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ครองราชย์ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 - 8 กันยายน พ.ศ. 2332)


รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วได้สถาปนาสมเด็จพระอนุชา (พระนามเดิมบุญมา) เป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทพระมหาอุปราชซึ่งหมายความว่าจะเป็นผู้สืบราชสมบัติหากรัชกาลที่ 1 สวรรคต สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ร่วมต่อสู้ศัตรูนอกประเทศเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาโดยตลอด แต่ในระยะหลังเกิดความขัดแย้งกันแลายเรื่องจนถึงเกือบจะสู้รบกัน ความบาดหมางยังมีอยู่จนเมื่อกรมพระราชบวรฯสิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคนิ่วเมื่อปี พ.ศ. 2345 (เมื่อรัชกาลที่ 1 ครองราชย์มาแล้ว 11 ปี) หลังจากกรมพระาชวังบวรสิ้นพระชนม์ปรากฏว่าพระโอรสสองพระองค์ของกรมพระราชวังบวรชื่อพระองค์เจ้าลำดวนและพระองค์เจ้าอินทปัตได้ถูกกล่าวหาว่าคบคิดกับพระยาเกษตราธิบดีจะทำการกบฎ จึงได้มีรับสั่งให้ประหารชีวิตผู้สมรู้ร่วมคิดทุกคนรวมทั้งพระองค์เจ้าทั้งสองพระองค์


เมื่อวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรสิ้นพระชนม์แล้ว รัชการที่ 1 ได้ทรงโปรดตั้งเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พรเจ้าลูกยาเฑอองค์ใหญ่ขึ้นเป็นมหาอุปราช (วังหน้า) เมื่อ พ.ศ. 2350


รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ครองราชย์ พ.ศ. 2352 - 2367)


รัชกาลที่ 1 ครองราชย์นานถึง 28 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2352 พระชนม์มายุ 72 พรรษา ก่อนสวรรคต ได้ทรงมอบราชสมบัติให้แก่มหาอุปราชคือ เจ้าผ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ซึ่งทรงตั้งให้เป็นมหาอุปราชอยู่ก่อนแล้ว


เมื่อขึ้นครองราชย์ได้ 3 วันก็มีผู้กล่าวหาว่าสมเด็จพระเจ้าหลานเธอกรมขุนกษัตรานุชิตคบคิดกับคณะบุคคลคณะหนึ่งจะเป็นกบฎ รัชกาลที่ 2 ทั้งโปรดฯ ให้พระราชโอรสองค์ใหญ่เจ้าทับ3 เป็นประธานในการสอบสวนเมื่อสอบสวนแล้วก็มีการประหารชีวิตกรมขุนกษัตรานุชิตและคนอื่นๆ กรมขุนกษัตรานุชิตนี้เป็นโอรสของพระเจ้าตากสินกับคุณฉิมใหญ่ ซึ่งเป็นพระธิดาของพระพุทธยอดฟ้า


รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งพระราชอนุชาคือกรมหลวงเสนานุรักษ์ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่พระมหาอุปราชหรือวังหน้า กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2460 หลังจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสิ้นพระชนม์และรัชกาลที่ 2 ไม่ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นมหาอุปราชจนสิ้นรัชกาลที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศง 2367


รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2367 -2394)


รัชกาลที่ 2 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 หลังจากทรงประชวรอยู่ 8 วัน โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่ผู้ใด พระโอรสองค์ใหญของรัชกาลที่ 2 คือกรมหมื่นเษฎาบดินทร์ ประสูติจากเจ้าจอมมารดาเรียมขณะที่รัชกาลที่ 2 สวรรคต กรมหมื่นเษฎาบดินทร์ พระชนม์มายุ 37 พรรษา เนื่องจากพระราชมารดาของพระองค์เป็นคนสามัญจึงมิได้เป็นเจ้าฟ้า


รัชกาลที่ 2 ทรงมีพระมเหสี เพียงพระองค์เดียว และมีพระโอรสจากพระมเหสี 2 พระองค์คือ เจ้าฟ้ามงกุฎและเจ้าฟ้าจุฑามณี เมื่อรัชกาลที่ 2 สิ้น พระชนม์นั้นเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งมีพระชนมายุ 20 พรรษา เพิ่งจะทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเศน์วิหารได้เพียง 7 วัน


เนื่องจาก ตอนที่รัชกาลที่ 3 สวรรคตนั้นไม่มีมหาอุปราชหรือวังหน้า เพราะมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ไหก่อนแล้ว และรัชกาลที่ 3 ก็ไม่ได้ทรงมอบราชสมบัติแก่ผู้ใดกรมหมื่นเษฎาบดินทร์พระราชโอรสองค์ใหญ่มีพระชนมายุมากกว่าคือ 37 พรรษและมีประสบการณ์ในการบริหารบ้านเมืองมาเป็นเวลานาน ก็มีความเหมาะสมที่จะขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ส่วนเจ้าฟ้ามงกุฎฯ นั่นทรงเป็นโอรสองค์ใหญ่ ซึ่งเกิดแก่พระมเหสีก็มีความชอบธรรมที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์เหมือนกันขณะนั้นประเทศไทยยังมีพม่าเป็นศัตรูหลัก และกรมหมื่นเษฎาบดินทร์นั้นมีประสบการณ์ในการบริหารราชการมาก จึงได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยที่เจ้าฟ้ามงกุฎไม่ทรงลาผนวช ปัญหาความขัดแย้งจึงไม่มี


รัชกาลที่ 3 หรือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งให้ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพ พระโอรสองค์หนึ่งของตัชกาลที่หนึ่งเป็นพระมหาอุปราชทรงพระนามว่ากรมพระราชวังบวรศักดิ์พลเสพ กรมหมื่นศักดิ์พลเสพมีพระชนม์มายุแก่กว่ารัชกาลที่ 3 อยู่ 2 พรรษา รัชกาลที่ 3 ทรงตั้งกรมหมื่นศักดิ์พลเสพเป็นพระมหาอุปราชด้วยสาเหตุใหญ่ 2 ประการคือ ประการแรกรัชกาลที่ 3 ไม่ทรงมีพระอนุชาร่วมพระราชมารดาและประการที่สองกรมหมื่นศักดิ์พลเสพเคยออกรบร่วมกับรัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งยังเป็นกรมหมื่นเจษฎบดินทร์ คงจะพอพระทัยในความสามารถและอุปนิสัยใจคอ อย่างไรก็ดี กรมพระราชวังบวรศักดิ์พลเสพ เป็นพระมหาอุปราชอยู่เพียง 8 ปี ก็ทรงประชวรสิ้นพระชนม์และรัชกาลที่ 3 ซึ่งครองาชย์นานถึง 27 ปี ก็ไม่ทรงตั้งผู้ใดเป็นพระมหาอุปราชหรือวังหน้าอีกจนตลอดรัชกาล


ระหว่างการดำรงตำแหน่งของรัชกาลที่ 3 ซึ่งขึ้นครองราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2367 นั้น ได้ทรงสั่งให้ประหารพระโอาสองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 2 คือ กรมหลวงรักษรณเรศรเมื่อปี พ.ศ. 2391 กรมหลวงรักษรณเศรผู้นี้มีพระชนมายุแก่กว่ารัชกาลที่ 3 เพียง 3 พรรษา จึงถือได้ว่ารุ่นราวไล่เลี่ยกันเริ่มรับราชกาลตั้งแต่ รัชกาลที่ 2 เหมือนกับที่ รัชกาลที่ 3 ทรงลงพระอาญาให้ประหารนั้นเพราะมีความผิดหลายข้อคือ5


1.ซ่องสุมกำลังคนทั้งเจ้านายและขุนนางไว้เป็นพรรคพวกมากจนผิดสังเกต


2.มักใหญ่ใฝ่สูงทำตัวเทียมกษัตริย์ เช่น ใส่แหวนเพชรแทนแหวนพลอยซึ่งถือว่าทำเทียมกษัตริย์ นับเป็นความผิด


3.ฝักใฝ่อยู่กับพวกนักแสดงและละครชายไม่ยอมบรรทมกับเจ้าหม่อมห้าม


4.ยักยอกเงินเบี้ยหวัดและเงินค่าบูชาพระบาทเป็นสมบัติส่วนตัวปีละจำนวนมากๆ


ก่อนที่จะประหารกรมหลวงรักษรณเรศรนั้น กรมหลวงรักษรณเรศรได้ทรงยอมรับว่าไม่ได้คิดจะเป็นกบฎต่อรัชกาลที่ 3 แต่ทรงคิดว่าถ้าสิ้นรัชกาลที่ 3 ก็จะไม่ยอมเป็นข้าของใคร และถ้าเป็นใหญ่ก็จะเอากรมขุนพิพิธภูเยนทร์เป็นวังหน้าหรืออุปราช กรมขุนพพิธภูเยนทร์ คือ พระองค์เจ้าชายพนมวันโอรสองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 2 เมื่อก่อนรัชกาลที่ 3 จะสิ้นพระชนม์ไม่นานกรมขุนพิพิธเยนทร์ได้ซ่องสุมผู้คนไว้เป็นจำนวนมากโดยอ้างว่าเกรงอันตรายเพราะกรมหลวงรักษรณเรศรได้เคยอ้างชื่อว่าจะให้เป็นวังห้าถ้ากรมหลวงรักษรณเรศรได้เป็นกษัตริย์ ร้อนถึงพระยาศรีสุริยวงศ์ (ภายหลังคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์) ต้องไปนำทหารจำนวนหนึ่งจากสมุทรปราการบรรทุกเรือใหญ่มายังกรุงเทพฯ ในเวลากลางคืนทอดสมอที่ท่าเตียนแล้วไปยังวัวดโพธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งซ่องสุมผู้คน บังคับให้กรมขุนพิพิธภูเยนทร์ไล่คนท่ชุมนุมกลับไปซึ่งกรมขุนพิพิธฯ ก้ต้องทรงปฏิบัติตาม


รัชกาลที่ 3 ทรงครองราชย์ 27 ปี ประชวรสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 ขณะที่ทรงประชวร รัชกาลที่ 3 ได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ต่อจากพระองค์ว่า ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางช่วยกันเลือกพระราชวงศ์พระองค์ใดที่ “มีวัยวุฒิปรีชารอบรู้ราชานุวัติ” ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และตรัสขอร้องไว้ให้เห็นแก่รัชกาลที่ 1 ที่ 2 และพระองค์เจ้าอย่าได้ฆ่าฟันกันเพราะแย่งชิงราชย์สมบัติและจงช่วยกันรักษาแผ่นดินต่อไป7


รัชกาลที่ 4 พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2394 - 2411)


ในช่วงรัชกาลที่ 3 ยังครองราชย์อยู่นั้น พม่าศัตรูคู่อาฆาตของไทยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ซึ่งนับเป็นสัญญาณเตือนภัยให้ผู้มีอำนาจในการปกครองของไทยทั้งเชื้อพระวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่รู้ว่าภัยนี้ยิ่งใหญ่และอาจจะมาถึงประเทศไทยได้ระหว่างที่เจ้าฟ้ามงกุฎทรงผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนภาษาอังกฤษจนแตกฉาน นอกจากพระองค์แล้ว ก็ยังมีคงอื่นๆ เรียนภาษาอังกฤษในยุคนั้นด้วยแต่ไม่มีใครเก่งภาษาอังกฤษเท่าพระองค์ ดังที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ทรงเขียนว่า8


“…ยังมีเจ้านายพระองค์อื่นๆ และขุนนางบางท่านก็โดยเสด็จเรียนภาษาอังกฤษบ้างเช่น สมเด็จพระอนุชาเจ้าฟ้าจุฑามณีแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ มีความรู้ดีเท่าพระองค์…”


รัชกาลที่ 3 มีพระราชโอรส 22 พระองค์และพระราชธิดา 29 พระองค์จากเจ้าจอมมารดา 35 ท่าน แต่รัชกาลที่ 3 ก็ไม่ทรงตรัสมอบราชสมบัติให้โอรสองค์ใดองค์หนึ่งของพระองค์


เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตแล้ว ได้มีการประชุมของพระราชาคณะ พระราชวงค์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ทูลเชิญเจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชมาแล้ว 27 พรรษาขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 4 เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว รัชกาลที่ 4 ได้สถาปนาพระอนุชาคือเจ้าฟ้าจุธามณีขึ้นเป็นพระปิ่นเล้าเจ้าอยู่หัวมีพระเกียรติเสมอพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ 2 คือ สูงกว่ามหาอุปราช


เจ้าฟ้าจุธามณีเป็นพระอนุชาร่วมพระราชมารดาของรัชกาลที่ 4 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 4 ยังทรงผนวชอยู่นั้นเจ้าฟ้าจุะามณได้รับราชการดำรงค์พระอิศริยยศเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเศรังสรรค์ ทรงเป็นผู้บังคับบัญชากรมทหารแม่นเป็น เคยทรงไปราชการสงครามทางเรือเมื่อคราวรบกับญวณ ทีงมีาความรู้เรื่องการต่อเรืออย่างมากชอบลงไปสำรวจเรือของชาวต่างชาติที่มีจอดอยู่ที่ท่ากรุงเทพฯ และเป็นผู้ที่ทรงปรับปรุงกองทัพเรือไทยให้มาเป็นแบบสมัยใหม่


พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2409 ก็ประชวร (วัณโรค) สิ้นพระชนม์


ส่วนรัชกาลที่ 4 นั้น ทรงครองราชย์อยู่จนถึงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ก็ประชวรสวรรคต (พระชนม์มายุ 64 พรรษ) ซึ่งเท่ากับว่าสิ้นพระชนม์หลัง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ 2 ปี ในช่วง 2 ปีนี้ รัชกาลที่ 4 มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นเป็นมหาอุปราชแทน


รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ 2411 - 2453)


เมื่อรัชกาลที่ 4 สวรรคตนั้นพระโอรสที่เป็นเจ้าฟ้าองค์ที่มีพระชนม์มายุมากที่สุด คือ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์กรมขุนพินิตประชานาถ ตอนนั้นมีพระชนม์มายุ 15 พรรษาการประชวรของรัชาลที่ 4 นั้น สืบเนื่องจากท่านไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และได้ติดไข้มาเลเรียมา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ซึ่งไปด้วยก็ทรงประชวรด้วย


เมื่อทรงประชวรหนักรัชกาลที่ 4 ยังทรงมีพระสติดีไม่ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่ผู้ใด มีพระดำรัสกับเจ้านายและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ว่าให้ปรึกษากันให้พร้อม แล้วแต่จะเห็นว่าผู้ใดมีความสามารถจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้ยกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงสวรรคตเมื่อเวลา 21.00 น. ของวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2411 และในเวลา 24.00 น. คืนวันนั้นเองก็มีการประชุมของพระบรมวงศานุวงศ์พระราชาคณะและข้าราชการชั้นผูใหญ่ ผู้เรียกประชุมก็คือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม9


ที่ประชุมประกอบด้วยพระราชาคณะ 25 รุป พระราชวงศ์ 16 พระองค์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ 20 คน มีพระราชาคณะที่เป็นพระราชวงศ์ 1 องค์คือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้แจ้งแก่ที่ประชุมว่ารัชกาลที่ 4 มิได้ทรงแต่งตั้งรัชทายาททรงมีพระดำรัสให้ที่ประชุมเลือกผู้ที่เห็นสมควรขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จึงขอให้ออกความเห็นกันได้โดยไม่ต้องมีความเกรงกลัว


กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 4 เป็นผู้ทรงอาวุโสเสนอต่อที่ประชุมว่าเพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อรัชกาลที่ 4 เห็นสมควรเลือกสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์กรมขุนพินิตประชานาถขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมนอกจากพระราชาคณะได้ออกเสียงกันทีละพระองค์และทีละคน ข้อยกเว้นคือกรมหมื่นบวรรังษีฯ เป็นพระราชาคณะแต่ได้ออกเสียด้วยในฐานพระราชวงศ์ ผู้ที่ออกเสียงทั้งหมดเป็นชอบกับข้อเสนอของกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร


มาถึงตอนนี้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ได้แสดงความเห็นว่ารัชกาลที่ 4 เคยทรงห่วงใยว่าพระราชโอรสทรงพระเยาว์นักจะปกครองบ้านเมืองไม่ได้ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทรก็เสนอต่อที่ประชุมให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ว่าราชการแผ่นดินไปจนกว่ารัชกาลที่ 5 จะมีพระชนม์มายุพอที่จะทรงปกครองแผ่นดิน และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ก็รับว่าจะว่าราชการแผ่นดินแทนอย่างเต็มความสามารถ


เมื่อลงมติเรื่องพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่แล้วกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทรได้เสนอให้อัญเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราชหรือวังหน้า กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แก่ชันษากว่าสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ 15 พรรษา


เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ จึงได้ถามความเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุมแบบเดียวกับที่ถาทความเห็นตอนเลือกพระเจ้าแผ่นดินทุกท่านที่ถูกถามก็ตอบว่าเห็น “สมควร นอกจากกรมขุนวรจักรธรานุภาพเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย โดยอธิบ่ายว่าไม่ใช่หน้าที่ของที่ประชุมจะตั้งพระมหาอุปราช ควรจะเป็นเรื่องของพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ และได้ยกตัวอย่างว่ารัชกาลที่ 1 ถึงที่ 4 ก็ทรงตั้งพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรด้วยพระองค์เอง


กรมขุนวรจักรธรานุภาพผู้นี้เป็นพระน้องยาเธอของรัชกาลที่ 4 การคัดค้านของกรมขุนวรจักรธราจุภาพทำให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขัดเคืองได้ตำหนิกรมขุวรจักรธรานุภาถหลายประการ ทั้งถามว่า “ที่ไม่ยอมนั้นอยากจะเป็นเองหรือ” ซึ่งคำถามนั้นทำให้กรมขุนวรจักรธรานุภาพตอบว่า “จะให้ยอมก็ตอ้งยอม” ก็เป็นอันว่าพระมหาอุปราชจะได้แก่กรมหมื่นบวรวิชียชาญ ซึ่งเมื่อเป็นวังหน้าแล้วก็จะเป็นที่รู้จักกันในนามของกรมพระาชวังบวรวิชัยชวาญ สำหรับประเด็นที่น่าจะพิจารณาคือวิธีการเสนอในที่ประชุมของกรมหลวงเทเศวัชรินทร์ให้สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์เป็นรัชกาลที่ 5 และกรมหมื่นบวรวิชัยชาญเป็นกรมพระาชวังบวรหรือวังหน้านั้นมีเบื้องหลังอะไรหรือเปล่า


จากข้อเขียนของณัฐวุฒิ สุทธิสงครม ซึ่งได้ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายฉบับได้กล่าวว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเคยได้รับการบอกเล่าจากเจ้าพระยาภานุวงษ์มหาโกศาธิบดี (อยู่ในที่ประชุมด้วยท่านหนึ่ง) ว่าดังนี้


“…การเลือกกรมพระาชวังบวรสถานมงคลครังนั้นถ้อยคำที่กรมหลวงเทเวศร์ฯ ตรัส เจพระยาศรีสุริยวงศ์จดถวายให้เจ้าพระรัตนาธิเบศร์ (พุ่ม) แต่ยังเป็นขุนสมุทรโคจร นั่งเขียนที่พระทวารเมื่อตอนเวลาประชุม และในเมื่อปรึกษากันนั้นในข้อจะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ยินยอมพร้อมกันด้วยความยินดีจริง แต่เมื่อเลือกพระมหาอุปราชท่านสังเกตดูผู้ที่อยู่ในที่ประชุมไม่เห็นชอบดดยมากที่ยอมเป็นด้วยกลังเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เท่านั้น…”


สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องภายหลังว่ากรมหมื่นบวรวิชัยชาญนั้นพระอัธยาศัยสุภาพถ่อมพระองค์รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระเมตตาใช้สอยสนิทสน เมื่อพระบามสมเด็จพระปิ่นเกล้าสวรรคตแล้วสิ่งที่กรมหมื่นบวรวิชัยชาญปฏิบัติเป็นกิจวัตรก็คือตอนเช้าเสด็จไปหาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ที่บ้านพระวรบรมมหาราชวัง10


สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพยังเห็นว่าการตั้งพระมหาอุปราชของที่ประชุมครั้งนั้นผิดประเพณีสมดังที่กรมขุนวรจักรฯ ให้ความเห็น แต่ที่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์สนับสนุนการมหมื่นบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นมหาอุปราชก็เพราะเกรงว่า ถ้ารัชกาลที่ 5 ทรงเจริญวัยขึ้นแล้ว ถ้าไม่พอพระทัยที่มีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินก็คงจะคิดเอาท่านออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จตาชการแผ่นดิน จึงได้สนับสนุนกรมหมื่นบวรวิชัยชาญซึ่งสนิทสนมกับท่านเป็นอย่างมากขึ้นเป็นพระมหาอุปราชเพื่อเป็นการคานอำนาจไว้ก่อน


สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพยังทรงอธิบายด้วยว่า ถ้าศึกษาจากพระราชพงศาวดารไทยแล้ว พระเจ้าแผ่นดินทรงพอใจที่ตั้งพระาชโอรสพระองค์ใหญ่เป็นพระมหาอุปราชเป็นพื้นต่อไม่มีพระราชโอรสหรือเหตุการณ์อย่างอื่นบังคับจึงทรงตั้งพระอนุชาหรือพระราชวงศ์ชั้นอื่น เช่น


รัชกาลที่ 1 ของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงตั้งสมเด็จพระอนุชาเป็นพระมหาอุปราช (กรมพระราชวังบวรมหาสุริยสิงหนาท( ก็เพราะได้ทรงสร้างสมพระบารมีมาด้วยก้นนับว่ามีเหตุการณ์บังคับ


รัชกาลที่ 2 ทรงตั้งสมเด็จอนุชาธิราชเป็นพระมหาอุปราช (กรมพระราชวังบวรมหเสนานุรักษ์) ก็เพราะสมเด็จพระอนุชาพระองค์ที่ดำรงพระยศเป็นพระบัณฑูรน้อยมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จึงเป็นการตั้งด้วยเหตุการณ์บังคับ


รัชกาลที่ 3 ทรงตั้งกรมหมื่นศักดิพลเสพพระราชปิตุลา (อา) เป็นมหาอุปราช (กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ) ก็เพราะเป็นบำเหน็จที่กรมหมื่นศักดิพลเสพซึ่งทรงบัญชาการกระทรวงกลาโหมอยู่ตอนรัชกาลที่ 2 สวรรคต สนับสุนให้รัชกาลที่ 3 ได้ราชสมบัติ


รัชกาลที่ 4 ทรงตั้งกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ สมเด็จพระอนุชาเป็นพระมหาอุปราชก็เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเชื่อตำราพยากรณ์ว่า สมเด็จพระอนุชาจะต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน


สมเด็จกรมพระยาดำรงตาชานุภาพยังทรงให้เหตุผลด้วยว่าการเลือกพระมหาอุปราชนั้นตามราชประเพณีพระเจ้าแผ่นดินต้องทรงเลือกเอาพระราชวงศ์องค์เดียวเท่านั้น


ช่วง 5 ปี หลังจากที่รัชกาลที่ 4 สวรรคต ซึ่งเป็นช่วง 5 ปีแรกของการครองราชย์ของรัชกาลที่ 5 นั้นอำนาจการปกครองแผ่นดิน จึงอยู่ที่ผู้สำเรํจราชการแผ่นดินคือ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์


เมื่อรัชกาลที่ 5 มีพระชนม์มายุครบ 20 พรรษา พระองค์ก็มรงผนวชเป็นเวลา 5 วัน เมื่อสึกแล้วก็ทำพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่ 2 ในเดือนพฟศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้ทำพิธีมาครั้งหนึ่งแล้ว เมื่อขึ้นครองราชย์ครั้งแรก โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายว่าสาเหตุหนึ่งของการทำราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้งก็เพื่อ “…เป็นการแสดงว่า พระเจ้าอยู่หัวจะทรงว่า ราชการบ้านเมืองต่อไปเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์มิได้เป็นผู้ว่าราชการเหมือนอย่างแต่ก่อน…” การทำพิธีบรมราชาภิเษกนี้ ก็เป็นอันว่าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์หมดอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน และก็ไม่มีตำแหน่งที่มีอำนาจต่อไป ตอนนั้นพระยาศรีสุริยวงศ์อายุได้ 65 ปี (เกิดในรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351) และถึงจะหมดอำนาจหน้าที่แล้วแต่รัชกาลที่ 5 ก็ได้เลื่อนยศขึ้นเป็นสมเด็จพระยาลบรมมหาศรีสุริยวงศ์


ช่วง 5 ปีแรกของการครองราชย์ของรัชกาลที่ 5 นับเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ สำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทย เพราะถ้าเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์คิดจะยัดอำนาจก็คงจะทำให้ประวัติศาสตร์ไทยต่างจากที่เป็นอยู่มา รัชกาลที่ 5 ได้ทรงอธิบายความรู้สึกของพระองค์ในช่วงเวลานั้นในพระราชหัตเลขาที่รงประทานแก่สมเด็จพระบรมโอรสธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ดังมีใจความตอนหนึ่งว่า


“…เมื่อพ่อได้ราชในเวลาเพียง 15 ปีเท่านั้น เหมือนตะเกียงริบหรี่จวนจะดับ…ไม่มีมารดา มีญาติฝ่ายมารดาก็ล้วนแต่โลเลเหลวไหล หรือไม่โลเลเหลวไหลก็มิได้ตั้งอยู่ในตำแหน่งราชการอันใดเป็นหลักฐาน ญาติฝ่ายข้างพ่อคือ เจ้านายทั้งปวงก็ตกอยู่ในอำนาจสมเด็จเจ้าพระยา และต้องรักษาชีวิตอยู่ด้วยกันทุกพระองค์…”


ซึ่งคล้าย๐กับว่าถ้าทางฝ่ายผู้สำเร็จราชการคิดจะยึดอำนาจแล้ว เจ้านายทั้งปวงก็คงไม่กล้าขัดขวางเพราะส่วนหนึ่งตกอยู่ในอำนาจของผู้สำเร็จราชการส่วนคนที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้สำเร็จราชการก็คงไม่กล้าขัดขวางเพราะ “ต้องรักษาชีวิตอยู่ด้วยทุกพรองค์”


ซึ่งผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ไทยในช่วงนี้ต่างก็เห็นพ้องกันว่าช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2411-2416 นั้นเหมือนเป็นจุดสูงสุดของตระกูลบุนนาค ซึ่งสืบทอดตำแหน่งเสนาบดีที่สำคัญคือ สมุหกลาโหม และเสนาบดีกรมคลังมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 คนในตระกูลที่เป็นถึงสมเด็จเจ้าพระยาก็เป็นสมเด็จเน้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ และสมเด็จพระยาบรมมหาพิชัยญาติ เมื่อเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินนั้นบุตรชายของท่าน (วร บุนนาค) เป็นสมุหกลาโหมน้องชายของท่านคือเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษธิบดี (ท้วม บุนนาค) เป็นเสนาบดีกรมพระคลังและหลานของท่านคือ พระยาอาหารบริรักษ์ (นุช บญหลง) เป็นเสนาบดีกรมนา


หลังจากขึ้นครองราชย์ด้วยพระองค์เองได้เพียงปีเศษก็เกิดเหตุการณ์ขัดแย้งระหว่าง รัชกาลที่ 5 กับพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ โดยเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นปลายธันวาคม พ.ศ. 2417 เริ่มด้วยกรมพระราชวังวบรฯ ได้รับบัตรสนเท่ห์ ซึ่งสมัยนั้นเรียกหนังสือทิ้งว่าจะมีคคนลปบปลงพระชนม์กรมพระราชวังบวรฯ จึงได้ระดมไพร่พลประมาณ 600 คน ไว้ที่พระที่นั่งศิวโมขพิมาน ซึ่งอยู่ในบริเวณพระราชวังของบวรฯ รัชกาลที่ 5 ได้ทราบข่าวนี้ก็เกรงว่าทางกรมราชวังบวรฯ อาจจะคิดยึดอำนาจ จึงได้ทรงเรียกทหารมารักษาพระราชวังหลวงมากขึ้น ทำให้เหตุการณ์ตึงเครียด รัชกาลที่ 5 จึงทรงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ไปเกลี้ยกล่อมว่าพระองค์ไม่ได้คิดร้าย แต่กรมพระราชวังบวฯ กลับหนีไปลี้ภัยอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษ เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2418 ปรากฎว่า ทางอังกฤษได้ส่งเซอร์ แอนดรู คลาก (Sir Andew Clarke) ข้าหลวงใหญ่ที่อังกฤษส่งมาปกครองสิงคโปร์ เข้ามาทำการไกล่เกลี่ย เซอร์ แอนดรู คลาก วางตัวเป็นกลางและไม่ต้องการแทรกแซงกิจการภายในของไทย และมีส่วนสำคัญในการเจรจาให้กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญมีทหารรักษาพระองค์ได้ไม่เกิน 200 คน โดยทรงออกคำสั่งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกรมพระราชวังบวรฯ ตอนหนึ่งว่า


“…อนึ่งเรามีความประสงค์ที่จะให้พระบรมวงศ์เธอ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลได้รักษาเกียรติยศโดยสมควร เราจึงให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคลมีทหารปืนเล็ก อาวุธสำหรับเฉพาะ 200 คน และทหาร 200 คนนี้ให้อยู่แต่พระราชวังบวรสถานมงคลหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จะไปอยู่แห่งใดที่เป็นสถานที่วังบวรนั้น ทหารจึงจะตาอยู่รักษาได้แต่เป็นสถานที่วังเท่านั้น ถ้าเราจะต้องการเรียกทหาร 200 คนนั้น ให้มาช่วยกันเมื่อไร เราจะมีคำสั่งเซ็นชื่อของเราให้เป็นสำคัญก็ต้องมาตามความประสงค์ของเรา”


ในปี พ.ศ. 2428 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญก็ประชวรสวรรคต พระชนมายุได้ 48 พรรษา หลังจากนั้นรัชกาลที่ 5 ได้ทรงยุบเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ทรงโปรดตั้งตำแหน่งพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารขึ้นเป็นตำแหน่งรัชทายาทแทนตำแหน่งพระมหาอุปราช โดยได้ทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุมารเมื่อปี พ.ศ. 2429 เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศได้ทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็นสยามมงกุฏราชกุมารนั้น ทรงมีพระชนมายุ 8 พรรษา (ประสูติเมื่อ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2421) และดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2437 ก็สิ้นพระชนม์


เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสิ้นพระชนม์แล้ว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสถาปนาสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสยามมงกุฎราชกุมารแทนเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2437 เมื่อทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสยามมงกุฎราชกุมารนั้น สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมีพระชนม์ 14 พรรษา (ประสูติ พ.ศ. 2423) และกำลังทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ


รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระปรีชาสามารถในทุกๆ ด้านสมกับที่ได้รับยกย่องให้เป็นพระปียะมหาราชสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453


รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. 2453-2468)


การขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 6 เป็นไปโดยราบรื่น เพราะรัชกาลที่ 5 ได้ ทรงตั้งเป็นสยามมงกุฎอยู่ก่อนแล้ว บ้านเมืองได้รับการพัฒนาไปมากในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 การติดต่อกับต่างชาติมีมากขึ้นรวมทั้งการส่งนักเรียนไทยไปเรียนยังประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปส่วนพระองค์รัชกาลที่ 6 เองนั้น ก็ทรงมีคุณวุฒิ วัยวุฒิ พร้อมทุกอย่างที่จะขึ้นปกครองประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เองก็เกิดความเคลื่อนไหว เพื่อใช้กำลังเพื่อจุดประสงค์ทางการเมืองรูปแบบใหม่ กล่าวคือแต่ก่อนมานั้นการใช้กำลังเพื่อเข้าช่วงชิงอำนาจก็เพื่อจะตั้งตนเองเป็นเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ แต่ในสมัยรัชกาลที่ 6 นี้เป็นความคิดที่จะใช้กำลัง เพื่อให้พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย


เหตุเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2454 หลังจากรัชกาลที่ 6 ขึ้นครองราชย์ได้ไม่ถึง 2 ปี ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ถูกเรียกว่ากบฎ รศ. 130 โดยทางฝ่ายรัฐบาลได้ทราบว่ามีคณะบุคคลเพื่อจะทำการลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จากการมีอำนาจโดยไม่จำกัดให้พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญฝ่านรัฐบาลเริ่มทำการจับกุมผู้ต้องสงสัยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2454 และผู้ที่จับรุ่นแรกๆ ก็ซัดทอดคนอื่นๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดได้มีการจับผู้ต้องสงสัยรวมถึง 106 คน เมื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัย ก็มีผู้ถูกตัดสินลงโทษ 92 คน เป็นทหารบก 85 คน ทหารเรือ 3 คน และข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงยุติธรรม 4 คน โดยถูกตัดสินดังนี้


ประหารชีวิต 3 คน


จำคุกตลอดชวิต 20 คน


จำคุก 20 ปี 32 คน


จำคุก 15 ปี 7 คน


จำคุก 12 ปี 30 คน


ผู้ที่ถูกตัดสินประหารชีวิต 3 คนได้รับพระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตผู้ที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิวต พระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุก 20 ปี ส่วนคนอื่นๆ ได้รับการอภัยโทษเหลือเพียงรอการลงอาญาโดยไม่ต้องถอดยศ ในจำนวนผู้ถูกจำคุก 23 คนนี้มีผู้กายุเกิน 30 ปี เพียงคนเดียวคือพันตรีหลวงพิฆเนศร์ประสิธิวิทย์ อายะ 38 ปี ซึ่งก็เป็นผู้มียศสูงสุดด้วย หลังจากการตัดสินประมาณ 4 เดือน ก็มีนายทหารที่ได้รับการตัดสินจำคุกตอนแรกแต่ได้รับการอภัยโทษให้รอลงอาญา 2 คนถูกนำขึ้นฟ้องศาลฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและศาลตัดสินจำคุกคนละ 20 ปีผู้ติดคุกทั้ง 25 คนถูกจำคุกอยู่ 12ปี 6 เดือนกับ 6 วัน ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้ปล่อยตัวเป็นอิสระเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (ตรงกับ ณ.ศ. 143) รัชกาลที่ 6 นอกจากพระราชทานอภัยโทษแล้วยังได้รับพระราชทานกางเกงคนละ 1 ตัว ผ้าอาบน้ำคนละ 1 ผืน กับสตางค์ คนละ 100 สตางค์14


รัชกาลที่ 6 ทรงประชวรและสวรรคตเมื่อตอน 01.00 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระชนม์มายุได้ 45 ปี 9 เดือนกับ 25 วัน ทรงครองราชย์อยู่ได้ 15ปีเศษรัชกาลที่ 6 ไม่ทรงมีพระโอรส มีพระราชธิดาพระองค์เดียว คือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี ซึ่งเป็นพระธิดาในพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี สมเด็จฯเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา ประสูติไม่นานก่อนที่รัชกาลที่ 6 ทรงสวรรคต


รัชกาลที่ 7 (ครองราชย์ พ.ศ. 2468-2477)


ปีก่อนที่จะสวรรคตคือในปี พ.ศ. 2467 รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดให้ออกกฏมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ตามกฏมณเฑียรบาลนี้ ถ้ารัชกาลที่ 6 ไม่มีพระราชโอรส การสืบราชสมบัติจะเป็นของสมเด็จพระอนุชาร่วมพระราชมารดา คือสมเด็จพระศรีพัชรินทราบราชินีนาถ ถึงแม้ว่ารัชกาลที่ 6 จะทรงมีพระราชธิดา คือสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ แต่กฎมณเฑียรบาล มาตรา 13 ระบุว่า “…ห้ามมิให้จัดเอาราชนารีพระองค์ใดๆ เข้าไว้ในสำดับสืบราชสันตติวงศ์เป็นอันขาด”


เมื่อรัชกาลที่ 6 ขึ้นครองราชย์นั้นสมเด็จพระอนุชาร่วมพระราชมารดาของรัชกาลที่ 6 ที่ยังทรงมีชีวิตอยู่มี ตามลำดับดังนี้


พระอนุชาองค์ที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาท


พระอนุชาองค์ที่ 2 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ


พระอนุชาองค์ที่ 3 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจุธาธุชธราดิลก


พระอนุชาองค์ที่ 4 สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์


แต่ระหว่างที่รัชกาลที่ 6 ทรงครองราชย์อยู่นั้นสมเด็จพระอนุชาได้สิ้นพระชนม์ไป 3 พระองค์คือ เจ้าฟเาพงศ์ภูวนาทสิ้นพระชนม์ปี พ.ศ. 2463 เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธสิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2467 และเจ้าฟ้าจุธาธุชธราดิลก สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2466 จึงเหลือพระอนุชาองค์สุดท้ายคือ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชนี้เพียงองค์เดียว พระองค์จึงได้สิทธิสืบราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 7 คือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 7 ได้ทรงเล่าเหตุการณ์ในคืนวันสวรรคตของรัชกาลที่ 6 ว่า


“พระเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อดึก 01.00 น. ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ทรงพระประชวรหนักอยู่ถึง 15 วัน ฉันนอนอยู่ที่ในพระที่นั่งอมรินทร์ฯ เกือบตลอดเวลาฉันเองเกือบจะกินอะไรไม่ลง นอนไม่หลับมีข่าวลืออะไรร้ายๆ ต่างๆ อยู่เรื่อย พากันกลัวว่าจะไม่มีอะไรไม่ลงนอนไม่หลับมีข่าวลืออะไรร้ายๆ ต่างๆ อยู่เรื่อยพากันกลัวว่าจะไม่มีอะไรแน่นอนเรียบร้อยได้ แต่ฉันได้รับความสบายใจจากข้อที่ว่าเจ้านาย (พระราชวงศ์) ต่างแสดงพระองค์ว่ารักชาติ ไม่มีพระองค์ไปทรงคิดถึงอะไรนอกจากประโยชน์ของชาติ ทุกๆ พระองค์สนพระทัยแต่จะช่วยเหลือฉันทำดีต่อฉันอย่างมากมายที่สุด ฉันถึงรู้สึกว่าถ้าพระราชวงศ์ยังจะทรงคิดได้เข่นนั้นแล้ว ประเทศสยามและพระราชวงศ์จักรีจะคงอยู่ต่อไปได้แม้จะประสบความยากลำบากเพียงใดก็ดี”


รัชกาลที่ 7 ทรงประสูติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 (ประสูติ ภายหลังรัชกาลที่ 6 เป็นเวลา 12 ปี) เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2468 นั้น พระองค์มีพระชนมายุ 32 พรรษเต็ม พระองค์ทรงศึกษาชั้นมัธยมที่วิทยาลัยอีตันประเทศอังกฤษ วิทยาลัยแห่งนี้เป็นโรงเรียนมัธยมที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ ศิษย์เก่าโรงเรียนนี้ได้เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษหลายคน เมื่อจบมัธยมแลัวพระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาทหารอยู่ที่อังกฤษระยะหนึ่ง ตามระเบียบของอังกฤษหลังจากนั้นก็ได้เสด็จกลับประเทศไทยโดยรับราชการในกระทรวงกลาโหม


เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตเชื้อพระวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ผู้ทรงเป็นประมุขพระบรมราชวงศ์ ที่เรียกประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศ์ ซึ่งอยู่พร้อมกันในพระทีนั่งอมรินทรวินิจฉัยให้เสนาบดีกระทรวงวังผู้รักษาพระราชพินัยกรรม อ่านพระราชพินัยกรรมในที่ประชุม พระราชพินัยกรมระบุว่าถ้าพระราชกุมารในพระครรภ์พระนางเจ้าสุวัทนาประสูติออกมาเป็นราชโอรส ก็ใคร่จะให้ได้ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแต่ถ้าเป็นพราชธิดาก็ใคร่ให้ราชสมบัติตกอยู่แก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนี ซึ่งก็หมายถึงสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา ที่ประชุมทั้งหมดก็เห็นชอบ แต่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยจุขอถอนพระองค์ด้วยพระองค์อ่อนพระชนมายุและอ่อนความเคยชินกับราชการ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมกลวงนครสรรค์วรพินิตทรงแถลงว่าตาชสมบัติควรตกอยู่แก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยฯ ตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 6 และเจ้านายทุกพระองค์พร้อมจะช่วยประคับประคองให้ทรงครองแผ่นดินให้ราบรื่นตลอดไป


รัชกาลที่ 7 จึงได้ขึ้นครองราชย์โดยความชอบธรรมในทุกๆ ด้านมองจากทางด้านเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ และเสนาบดี แล้วพระราชอำนาจของรัชกาลที่ 7 มั่นคงดี แต่ปัญหาของรัชกาลที่ 7 จะมาจากกระแสความคิดที่จะล้มเลิกระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยข้าราชการระดับกลางและรดับล่าง ซึ่งรับกระแสความคิดเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาจากประเทศตะวันตก


รัชกาลที่ 7 ได้ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ เป็นเวลานานทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา โรงเรียนมัธยมอีตันที่พระองค์ทรงศึกษา ถือว่าเป็นโรงเรียนมัธยมที่ดีเยี่ยมของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีของอังกฤษนับสิบคนที่เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนนี้ภาษาอังกฤษของพระองค์จึงต้องแตกฉาน และรู้เรื่องการเมืองการปกครองของอังกฤษเป็นอย่างดีมีหลักฐานว่า พระองค์ทรงตระหนักดีว่าวันหนึ่งประเทศไทยก็คงต้องมีการนำเอาระบอบประชาธิปไตยมาใช้ พระองค์ทรงเคยบันทึกๆไว้ตอนหนึ่งว่า


“ถ้ายอมรับกันว่าวันหนึ่งเราอาจจะต้องถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยแบบใดแบบหนึ่งในสยามแล้ว เราจะต้องเตรียมตัวของเราอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราจะต้องเรียนรู้และให้การศึกษาแก่ตัวเราเอง เราต้องเรียนรู้และทดลองเพื่อจะได้ทรายว่าการแกครองแบบรัฐสภานั้นจะดำเนินไปได้อย่างไรในสยาม เราต้องพยายามที่จะสอนประชาชนให้มีความสำนึกทางการเมืองให้เขาตระหนักถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงการปกครองระบอบรัฐสภา เพื่อว่าพวกเขาจะไม่ถูกชักจูงไปในทางผิดๆ โดยนักปลุกระดมหรือนักเพ้อฝันถึงสังคมที่พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภาเราต้องสอนประชาชนด้วยความสำเร็จ”16


รัชกาลที่ 7 ทรงมีประสบการณ์ช่วยราชการของรัชกาลที่ 6 อยู่หลายปีก่อนจะได้ขึ้นครองราชย์ จึงมัทั้งความรู้และประสบการณ์จากต่างประเทศและในประเทศพระองค์ทรงมีแนวนโยบายที่จะค่อยๆ นำระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในสังคมไทย 2 แนวทางคือ


1.ทรงดำริที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่นตามรูปแบบของเทศบาล (municipality) ซึ่งประทศตะวันตกได้ใช้กันอยู่ สาระสำคัญก็คือผู้บริหารเทศบาลจะมีอำนาจในการแหครองท้องถิ่นในเขตเทศบาลและผู้บริหารเทศบาลจะได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในเทศบาลนั้นๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการริเริ่มให้ประชาชนรู้จักใช้สิทธิในการเลือกตั้ง รัชกาลที่ 7 ได้จัดให้มีการร่างพระราชบัญญัติเทศบาลซึ่งมีหลายขั้นตอนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2473 ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลได้ผ่านไปถึงกรมร่างกฎหมายและยังไม่ทันที่จะผ่านกรมร่างกฎหมายก็ได้เกิดการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2475 เสียก่อน17 ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลฉบับนี้มี 49 มาตรา


2.ทรงใช้ชาวต่างประเทศที่ทำงานให้รัฐบาลไทยร่างรัฐธรรมนูญที่จะใช้กับประเทศไทย 2 ท่าน ท่านรกคือ พระยากัลยา ณ ไมตรี (Dr.Francis B. Stevens) นักกฎหมายชาวเบลเยี่ยมและนายเรมอนด์ สตีเวนส์ (Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ


ร่างของพระยากัลยา ณไมตรี มี 12 มาตรา อำนาจสูงสุดยังเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ที่สำคัญก็คือ ให้พระเจ้าแผ่นดินแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารและนายกรัฐมนตรีจะเป็นหัวฝ่ายบริหารและนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรีขึ้นมาช่วยนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศพระยากัลยา ณ ไมตรีทูลเทล้าถวายร่างนี้เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยา ณ ไมตรี ไม่กล่าวถึงการที่ต้องมีรัฐสภาซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยผ่านให้ความเห็นในบันทึกที่แนบมากับร่างรัฐธรรมนูญนั้นรัฐสภาซึ่งสมาชิกมาจากการเลือกตั้งนั้นดีสำหรับกรณีที่ประชาชนมีการศึกษา ถ้าประชาชนผู้เลือกเลือกตั้งมีการศึกษาไม่ดีรัฐสภาก็จะค่อยๆ เสื่อมลงเป็นองค์กรที่คดโกงและเป็นทรราชย์ได้ซึ่งท่านเห็นว่ายังไม่เหมาะกับประเทศไทย ร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยา ณ ไมตรีเสนอให้มีสภาสูงสุด (Supreme Council) ซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคล 5 โดยพระมหากษัตริย์แต่งตั้งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีเป็นสมาชิกสภาสูงสุดโดยตำแหน่ง แต่รัฐมนตรีคนอื่นๆ จะเป็นไม่ได้ สภาสูงสุดมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่พระมหากษัตริย์ย์เกี่ยวกับนโยบายทั่วๆ ไป


รัชกาลที่ 7 ได้ทรงให้กรมพระยาดำรงราชานุภาพให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญของพระยากัลยา ณไมตรี ซึ่งกรมพระยาดำรงฯ ก็ได้มีบันทึกตอบ รัชกาลที่ 7 เป็นภาษาอังกฤษลงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2469 ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นมาบริหารปะเทศโดยมีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรี กระทรวงต่างๆ ได้เหตุผลที่กรมพระยาดำรงฯ ทรงยกมาก็คือ ถ้าประชาชนจะตั้งคำถามว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่สนใจจะทำงานในหน้าที่ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินควรจะทำแล้วหรือว่าสภาสูงสุดว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงอ่อนแอไม่เหมาะที่จะปกครองประชาชนจึงชักจูงให้พระเจ้าแผ่นดินแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นมา ซึ่งในทั้ง 2 คำถามนี้ก็จะทำให้อำนาจและเกียรติของพระเจ้าแผ่นดินลดลงในสายตาประชาชน นอกจากนั้นกรมพระยาดำรงฯ ยังชี้ให้เห็นปัญหาที่จะเกิดตามมาอีกเช่น ถ้าเกิดการขัดแย้งด้านความคิดระหว่างพระเจ้าแผ่นดินกับนายรัฐมนตรี แล้วพระเจ้าแผ่นดินปลดนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งก็จะทำให้นายกรัฐมนตรีและคนของนายกรัฐมนตรีไม่พอใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น